กุมภาพันธ์ เริิงร่า


ลมเย็นยังคงพัดรวยริน พงไพรสดใสกระจ่าง ดอกไม้ผลิบานหอมสะพรั่งกว่าทุกฤดูกาล แมลง นก สัตว์ป่ามีมาดงามสง่า ป่างามด้วยพรรณไม้ เต็มไปด้วยความรักที่อ่อนโยนเมตตา ค้ำจุนธรรมชาติ ให้พลานุภาพเร่งเร้าเกื้อกูลชีวิต ความสดชื่นรื่นอารมณ์คือสิ่ง




ตอบแทนภาระแห่งงานสังสรรค์นิเวศน์ อย่างสัตย์ซื่อ แม้มิใช่ความสุขลึกล้ำ ไม่ชวนให้ลุ่มหลง






แต่สำนึกรู้โดยกำเนิดของสัตว์ป่า จะเคลื่อนคลายไปตามเงื่อนไขแห่งการดำรงชีวิตงดงาม จนกว่าจะถึงวาระที่มีปรากฏการณ์สำคัญยิ่งกว่าเวลาแห่งความรักเยี่ยงนี้







วันตรุษจีน


วัฒนธรรมของเราใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวกันมานานระหว่างคนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนหรือลูกหลานคนจีนที่เกิดบนพื้นแผ่นดินไทยและเป็นเชื้อสายไทยไปแล้วแต่มีเชื้อจีน ต่างยังยืดถือวัฒนธรรมประเพณีของบรรพบุรุษอย่างยั่งยืน จนคนไทยแท้ๆ ยังถือเป็นเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของเมืองไทยไปแล้วเช่นเดียวกับสงกรานต์ และ ปีใหม่..สากล


ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย
ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก

มื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า "ตรุษจีน"

ประวัติวันตรุษจีน
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน
อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ
สิ่งที่ไม่ควรทำวันตรุษจีน
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน
การจุดประทัดและเชิดสิงโตในวันตรุษจีน
ตรุษจีนในประเทศไทย
เพิ่มเติมจากเว็บ http://www.lengnoeiyi.com/

พอล เซซานน์ ( Paul Cézanne )



วันนี้เปิด Google มาเห็นงานศิลปของ พอล เซซานน์ ดูน่าสนใจมากและวันนี้เป็นวันเกิดของเขา พอล เซซานน์ซึ่งเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน
ปอล เซซาน (ฝรั่งเศส: Paul Cézanne; 19 มกราคม พ.ศ. 2382 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2449) จิตรกรสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ตอนหลัง ของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่เป็นการวางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยม (Cubism) ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น “the father of us all”




งานของเซซานแสดงถึงความเชี่ยวชาญทางการออกแบบ การวางองค์ประกอบ การใช้สี และการร่าง (draftsmanship) ฝึแปรงซ้ำ ๆ อ่อนไหว และ exploratory เป็นลักษณะเอกลักษณ์ที่เป็นของเซซานโดยเฉพาะ เซซานจะใช้สีต่าง ๆ ฝีแปรงสั้น ๆ และค่อยสร้างขึ้นจนซับซ้อนซึ่งทั้งเป็นการแสดงออกของสิ่งที่เห็นด้วยตาและ เป็นรูปทรงนามธรรมของธรรมชาติในขณะเดียวกัน ภาพของเซซานแสดงให้เห็นถึงความจดจ่อในการศึกษาแบบที่วาดของเซซานเพื่อแสดง ให้เห็นถึงความซับซ้อนในการมองในสิ่งที่เห็น



และอีกสองภาพที่ชอบภาพแรกเป็น“เด็กชายใส่เสื้อแดง”(Boy in a Red Vest)
ค.ศ. 1888-1890, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา

ภาพที่สอง The Overture to Tannhäuser: The Artist's Mother and Sister, 1868, Hermitage Museum, St. Petersburg.

informations more: http://en.wikipedia.org/wiki/Paul_C%C3%A9zanne


ลมหายใจ







วันทุกวันของคนคนหนึ่ง
จะมีสักกี่คนรู้สึกนึกถึงลมหายใจเข้าออกของตัวเอง
มีแต่เรื่อง...มีแต่ความคิด...
ไม่มีสติไม่รู้ว่ามือไม้ขยับความคิดฟุ้งเฟ้อ
ไม่เข้าใจจิตตามใจตัวเองไม่ทัน
เหมือนคนเหล็ก
ทำงานไปตามธรรมชาติหรือหน้าที่
กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็มื้อเที่ยง
มือเย็น..กลับบ้าน
ทำกิจกรรม นอน.....
รีบตื่นแต่เช้า กินข้าว...ไปทำงาน
วนอยู่แค่นั้นซ้ำซาก
..........

วันหนึ่งหันกลับมาดูลมหายใจตัวเอง
ดูจิตตัวเอง รู้สึกถึงลมหายใจที่เข้าออก
เห็นกาย..มือไม้ทำงาน..หยุดฟุ้งเฟ้อของความคิด
มีสติ..จิตใจนิ่ง...ตั้งมั่นในสมาธิ...ปลงอารมณ์......
จะเห็นสัจธรรม...ของการดำรงอยู่..ได้รับเจริญสมาธิ
เกิดการให้...
แผ่เมตตา...
ลดโทษะ...
ตามจิตได้ทัน...


วันนั้น.....รู้แล้วว่าอยู่เพื่ออะไร

การเริ่มต้น....ของฉัน


คนเราทุกคนต้องมีก้าวแรกกันทั้งนั้น
แล้วเราจะเริ่มอย่างไร?
ก้าวแรกสำหรับฉันปล่อยความฝันไป..
ค่อยๆคลายมือจากการยึดเกาะ และเริ่มปล่อยมันทีละน้อย
เพราะไม่มีใครทำได้ในคราวเดียวกัน
นี้เป็นพื้นฐานที่ไม่มีใครสามรถบอก คนอื่นได้ ว่าจะทำอย่างไร
คล้ายกับพระอาทิตย์ทอแสง บางอย่างต้องริเริ่ม
มันเป็นส่วนหนึ่งที่เริ่มปราศจากรางวัล
ไร้การตอบแทนของความพยายามที่ยึดกุมไว้
เป็นภาคหนึ่งของความสำนึกถึงความรู้สึก
ว่าจะมีอะไรบางอย่างตื่นเต้นรออยูข้างหน้า

"แก่นสารของชีวิตย่อมขยายตัวเติบแกร่งด้วยเกราะของบทเรียน"

สวัสดีความฝัน



ทุกทุกวันเมื่อฉันพบกับอารมณ์ ความรู้สึก และเดินทางไปสู่ความฝันเสมอๆ ทุกๆครั้งที่ความคิดฉันเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางนั้น ฉันรู้สึกขอบคุณอารมณ์ และความรู้สึก เพราะมันทำให้ฉันมีความสุขและความคิดมันเดินทางไปในด้านดีเสมอ และจบลงด้วยความรู้สึกอันนี้ "สวัสดีความฝัน"